top of page
tom-yum-kung-thai-hot-spicy-soup-shrimp-with-lemon-grass-lemon-galangal-chilli-wooden-table-thailand-food.jpg

อาหารไทย

     เป็นอาหารประจำของประเทศไทย ที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จนเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ถือได้ว่าอาหารไทยเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญของประเทศไทย อาหารที่ขึ้นชื่อที่สุดของคนไทย คือ ต้มยำกุ้ง

     อาหารไทยดั้งเดิมแบ่งออกอย่างหลวม ๆ เป็นสี่ประเภท: ต้ม, ยำ, ตำ และแกง ส่วนการทำอาหารแบบทอด ผัด และนึ่ง มีที่มาจากการทำอาหารแบบจีน

     

mt360.php_.jpg

     คนไทยบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก โดยนิยมกัน 2 ชนิดคือ ข้าวเหนียวและข้าวเจ้า คนไทยภาคอีสานและภาคเหนือนิยมกินข้าวเหนียวเป็นหลัก ส่วนคนไทยภาคกลางและภาคใต้นิยมกินข้าวเจ้าเป็นหลัก ประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่ผูกพันกับสายน้ำมาช้านาน ทำให้อาหารประจำครัวไทยประกอบด้วยปลาเสียเป็นส่วนใหญ่ ทั้ง ปลาย่าง ปลาปิ้ง จิ้มน้ำพริก กินกับผักสดที่หาได้ตามหนองน้ำ ชายป่า หากกินปลาไม่หมดก็สามารถนำมาแปรรูปให้เก็บไว้ได้นาน ๆ ไม่ว่าจะเป็นปลาแห้ง ปลาเค็ม ปลาร้า ปลาเจ่า ส่วนอาหารรสเผ็ดที่ได้จากพริกนั้น ไทยได้รับนำมาเป็นเครื่องปรุงจากบาทหลวงชาวโปรตุเกสในสมัยพระนารายณ์ ส่วนอาหารประเภทผัดไฟแรง ได้รับมาจากชาวจีนที่อพยพมาอยู่ในเมืองไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

      เมื่อมีการเลี้ยงสัตว์ขายเป็นอาชีพและมีโรงฆ่าสัตว์ ทำให้มีการหาเนื้อสัตว์มารับประทานมากขึ้น มีการใช้เครื่องเทศหลากชนิดเพื่อช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อที่นำมาปรุงเป็นอาหาร เครื่องเทศที่คนไทยนิยมนำมาปรุงอาหารประเภทนี้เช่น ขิง กระชาย ที่ใช้ดับกลิ่นคาวปลามานาน ก็นำมาประยุกต์กับเนื้อสัตว์ประเภทวัว ควาย เป็นสูตรใหม่ของคนไทยได้อีกด้วย

จุดเด่นของอาหารไทย

จุดกำเนิดของอาหารไทย

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

จากหลักฐานที่พบในช่องท้องของศพผู้หญิง อายุราว 3,000 ปี ที่บ้านโคกพนมดี อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี 

พบข้าวเปลือก กระดูก เกล็ดและก้างปลาหมอ นอกจากนี้ยังพบซากปลาช่อนทั้งตัวขดอยู่ในหม้อดินเผา ที่ตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา มีอายุไม่น้อยกว่า 3,000 ปี ทำให้เห็นว่าคนไทยเมื่อ 3,000 ปี ก่อน

กินข้าวและปลาเป็นอาหาร

สมัยสุโขทัย

อาหารไทยในสมัยสุโขทัยได้อาศัยหลักฐานจากศิลาจารึก และวรรณคดี สำคัญคือ ไตรภูมิพระร่วงของพญาลิไท ที่ได้กล่าวถึงอาหารไทยในสมัยนี้ว่า มีข้าวเป็นอาหารหลัก โดยกินร่วมกันกับเนื้อสัตว์ ที่ส่วนใหญ่ได้มาจากปลา มีเนื้อสัตว์อื่นบ้าง

กินผลไม้เป็นของหวาน การปรุงอาหารได้ปรากฏคำว่า

“แกง” ใน ไตรภูมิพระร่วงที่เป็นที่มาของคำว่า ข้าวหม้อแกงหม้อ ผักที่กล่าวถึงในศิลาจารึก คือ แฟง แตง และน้ำเต้า 

ส่วนอาหารหวานก็ใช้วัตถุดิบพื้นบ้าน เช่น ข้าวตอก และน้ำผึ้ง ส่วนหนึ่งนิยมกินผลไม้แทนอาหารหวาน

สมัยอยุธยา

สมัยนี้ถือว่าเป็นยุคทองของไทย ได้มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศมากขึ้นทั้งชาวตะวันตกและตะวันออก จากบันทึกเอกสารของชาวต่างประเทศ พบว่าคนไทยกินอาหารแบบเรียบง่าย ยังคงมีปลาเป็นหลัก มีต้ม แกง และคาดว่ามีการใช้น้ำมันในการประกอบอาหารแต่เป็นน้ำมันจากมะพร้าวและกะทิมากกว่าไขมันหรือน้ำมันจากสัตว์มาทำอาหารอยุธยามีเช่น หนอนกะทิ วิธีทำคือ ตัดต้นมะพร้าว แล้วเอาหนอนที่อยู่ในต้นนั้นมาให้กินกะทิแล้วก็นำมาทอดก็กลายเป็นอาหารชาววังขึ้น คนไทยสมัยนี้มีการถนอมอาหาร เช่นการนำไปตากแห้ง หรือทำเป็นปลาเค็ม มีอาหารประเภทเครื่องจิ้ม เช่นน้ำพริกกะปิ นิยมบริโภคสัตว์น้ำมากกว่าสัตว์บก โดยเฉพาะสัตว์ใหญ่ ไม่นิยมนำมาฆ่าเพื่อใช้เป็นอาหาร ได้มีการกล่าวถึงแกงปลาต่างๆ ที่ใช้เครื่องเทศ เช่น แกงที่ใส่หัวหอม กระเทียม สมุนไพรหวาน และเครื่องเทศแรงๆ ที่คาดว่านำมาใช้ประกอบอาหารเพื่อดับกลิ่นคาวของเนื้อปลา

สมัยธนบุรี

จากหลักฐานที่ปรากฏในหนังสือแม่ครัวหัวป่าก์ ซึ่งเป็นตำราการทำกับข้าวเล่มที่ 2 ของไทย ของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ พบความต่อเนื่องของวัฒนธรรมอาหารไทยจากกรุงสุโขทัยมาถึงสมัยอยุธยา และสมัยกรุงธนบุรี และยังเชื่อว่าเส้นทางอาหารไทยคงจะเชื่อมจากกรุงธนบุรีไปยังสมัยรัตนโกสินทร์ โดยผ่านทางหน้าที่ราชการและสังคมเครือญาติ และอาหารไทยสมัยกรุงธนบุรีน่าจะคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยา แต่ที่พิเศษเพิ่มเติมคือมีอาหารประจำชาติจีน

สมัยรัตนโกสินทร์

การศึกษาความเป็นมาของอาหารไทยในยุครัตนโกสินทร์นี้ได้จำแนกตามยุคสมัยที่นักประวัติศาสตร์ได้กำหนดไว้ คือ ยุคที่ 1 ตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 3 และยุคที่ 2 ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 จนถึงรัชกาลปัจจุบัน

20230526143218.jpg
749e054e67c223cb032e4c5424373816.jpg

อาหารชาววัง

อาหารชาววัง หรือ กับข้าวเจ้านาย คืออาหารที่ประดิษฐ์คิดค้นโดยผู้คนในรั้ววัง มีอัตลักษณ์ที่สำคัญคือ ความอุดมสมบูรณ์และความสดใหม่ของวัตถุดิบในการประกอบอาหาร มีกรรมวิธีในการทำซับซ้อน ประณีต ต้องใช้เวลาและกำลังผู้คนในการทำจำนวนมาก มีลักษณะความแปลกแตกต่าง ความวิจิตรบรรจง รวมถึงมีรสชาติที่นุ่มนวลไม่เผ็ดมาก มีความกลมกล่อมเป็นหลัก องค์ประกอบของอาหารชาววัง ในแต่ละมื้อจะประกอบด้วยอาหารที่มีความหลากหลาย ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีประเภทอาหารอย่างน้อยที่สุด 7 ประเภท คือ ข้าวเสวย เครื่องคาว เครื่องเคียงแกง เครื่องเคียงแขก เครื่องเคียงจิ้ม เครื่องเคียงเกาเหลา เครื่องหวาน อาหารมีครบรส คือ เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม เผ็ด อาหารชาววังแตกต่างจากอาหารชาวบ้านคือ การจัดอาหารเป็นชุด หรือ สำรับอาหาร

e0b8ab6.jpg

ภาคเหนือ คนท้องถิ่นของที่นี่มีความอ่อนโยน นุ่มนวล ใช้ชีวิตเรียบง่ายสไตล์ของคนเมืองล้านนา ในภาคนี้มีธรรมชาติป่าไม้ที่สวยงาม และยังเป็นที่อยู่ของคนไทยภูเขาหลายเผ่าพันธุ์ จึงมีความหลากหลายในแง่ ของขนบธรรมเนียมประเพณี

อาหารภาคเหนือ: น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง แคบหมู ไส้อั่ว แกงโฮะ แกงฮังเล ขนมจีนน้ำเงี้ยว ข้าวซอย

ภาคกลาง เป็นพื้นที่ราบลุ่มที่มีแม่น้ำไหลผ่านหลายสาย ถือได้ว่าเป็นภาคที่มีความอุดมสมบูรณ์ในเรื่องข้าวปลาอาหาร ซึ่งในสมัยก่อนนั้นที่นี่ถือเป็นศูนย์กลางทางการค้า มีการพบปะค้าขายสินค้ากับชาวต่างชาติ นอกจากนี้ยังเป็นที่ประทับของพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลต่างๆ อาหารของภาคนี้จึงมีความหลากหลายในเรื่องของรสชาติ มีการประยุกต์ปรุงแต่งตามแต่อิทธิพลที่ได้รับมา และรับประทานข้าวสวยเป็นหลัก บนโต๊ะอาหารนั้นจะมีการประดิษฐ์ตกแต่งผัก เครื่องจิ้มที่มีการแกะสลักประดับอย่างสวยงาม

อาหารภาคกลาง: น้ำพริกลงเรือ น้ำพริกกะปิ ห่อหมก ทอดมัน ปูจ๋า แกงจืด แกงเผ็ด แกงส้ม ข้าวผัด ยำต่างๆ

ภาคอีสาน หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นที่ทราบกันดีว่าภาคนี้มีพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ผู้คนท้องถิ่นจึงรับประทานอาหารกันอย่างง่ายๆ ไม่วุ่นวายเรื่องการเตรียมอาหารให้มากนัก ซึ่งสอดคล้องกับธรรมชาติของภาคอีสาน คนที่นี่รับประทานข้าวเหนียวเป็นหลัก ปลาร้าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่ขาดไม่ได้ มักจะทานคู่กับผักสด หรือนำไปใส่ในเมนูอาหารประเภทอื่นๆ

อาหารภาคอีสาน: ซุปหน่อไม้ ต้มส้ม แกงอ่อม แกงเปรอะ แกงเห็ด แกงไข่มดแดง ตำบักถั่ว ส้มตำ

ภาคใต้10-1024x683.jpg

ภาคใต้ มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลเสียส่วนใหญ่ อากาศร้อนชื้น ฝนตกตลอดปี อาหารทะเลอุดมสมบูรณ์ คนในภาคนี้นิยมทำการประมง อาหารหลักจึงเป็นพวกอาหารทะเล และนิยมใช้เครื่องเทศในการปรุงอาหารเพื่อดับกลิ่นคาว จึงมีความโดดเด่นที่รสชาติเผ็ดจัดจ้าน แซ่บถึงใจ

อาหารภาคใต้: แกงไตปลา แกงส้ม แกงเหลือง ไก่ต้มขมิ้น ไก่กอแหละ ปลากระบอกต้มส้ม คั่วกลิ้ง ผัดสะตอ ผัดเผ็ดกบ ยำน้ำบูดู

WumMEmjfDtjjdciI3Hs1a2h6q9hFLo1v9sL3qkseDI0Olvse9vA1.webp
อาหารไทยภาคกลาง.webp
bottom of page